เมนู

วาสนาได้กระทำมาเป็นสภาวะบริสุทธิ์ กับพระภิกษุปุถุชนนั้นก็ได้พระอริยผลเหมือนกัน
แต่ทว่าเร็วกับช้า บุคคลที่มีวาสนาเป็นสภาวะบริสุทธิ์ได้ผลก่อน ขอถวายพระพร
ประการหนึ่ง บพิตรพระราชสมภารจงทรงพระสวนาการฟังซึ่งอุปมาให้ภิยโยภาวะประ
หลาดไปอีกอย่างหนึ่งเล่า เปรียบดังบุรุษชาย 2 คนจะกระทำกิจธุระสักอย่างหนึ่งอย่างใด คนหนึ่ง
เป็นคนเข้าใจในกิจธุระนั้นก็กระทำให้สำเร็จไปได้เองแต่ผู้เดียว อีกคนหนึ่งไม่รู้จักทำ ต้องจ้าง
เขาด้วยทรัพย์จึงทำได้ แต่ก็ทำให้สำเร็จได้เหมือนกัน ผิดกันที่ช้ากับเร็วเท่านั้น ความนี้เปรียบ
ฉันใด ท่านผู้มีบุพพวาสนาได้กระทำมาเป็นสภาวะบริสุทธิ์แล้ว กับพระภิกษุที่เป็นปุถุชนนั้น ก็
สำเร็จพระอริยผลเหมือนกันแล แต่ทว่าช้ากับเร็ว ที่บุคคลมีบุพพวาสนานั้นจะได้วสีในอภิญญา
6 นั้น ขณะจิตเดียวก็ได้โดยเร็วพลัน จะได้ช้าอยู่จนสองขณะจิตหามิได้ ส่วนพระภิกษุที่เป็น
ปุถุชนนั้นช้าอยู่ จะต้องพากเพียรเล่าเรียนไปโดยลำดับก่อน กว่าวาสนาจะแก่กล้า เหตุฉะนี้
สมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูผู้ประเสริฐ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสให้โอวาทคำสั่งสองพระภิกษุ
ืทั้งหลาย ให้มั่นหมายกำหนัดยินดีในฝ่ายที่จะได้ซึ่งนิปปปัญจธรรมคือพระอริยผลนั้น การที่
พระองค์มีพระพุทธฎีกาเช่นนั้น จะนับว่าเป็นอันพระองค์ตรัสห้ามปราม มิให้พระภิกษุเล่าเรียน
บอกกล่าวพระไตรปิฎกสืบไปหามิได้ บพิตรจงทราบดังวิสัชนามานี้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงสดับข้อวิสัชนาปัญหานี้ ท้าวเธอทรงเลื่อมใสยินดี
ด้วยถ้อยคำพระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ ก็ตรัสประภาษสาธุการดุจนัยหนหลัง
นิปปปัญจปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

คีหิอรหัตตปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ขัตติยาธิราชผู้มีบุพพวาสนาจะได้สำเร็จแก่พระปวราม-
ฤตยาธิคตธรรมอันประเสริฐคือจะได้พระนิพพานในปัจจุบัน จึงมีพระราชโองการถามปัญหา
พระนาคเสนสืบไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนเถระผู้มั่นในอริยศีล
สังวรวินัย ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้กับโยมแต่เดิมว่า ฆราวาสได้พระอรหัตนั้นมีคติ 2
ประการ คือจะต้องบวชเสียในวันอันได้พระอรหัตนั้นประการ 1 ข้อหนึ่งบุคคลเป็นฆราวาส
ได้สำเร็จพระอรหัตแล้ว ไม่บวชเสียในวันนี้จะเข้าสู่พระนิพพานในวันที่ได้พระอรหันต์นั้ประการ
1 เป็นคติสิริเป็น 2 ประการแน่ ดังนี้หรือกระไร